องค์ประกอบของไฟและประเภทเชื้อเพลิง
องค์ประกอบของการเกิดเพลิงไหม้
การอบรมดับเพลิงขั้นต้น ภาคทฤษฏี
ทฤษฎีการเกิดเพลิงไหม้
การสันดาป หรือการเผาไหม้ (COMBUSTION) คือ ปฏิกิริยาเคมี ที่เกิดจากการรวมตัวของเชื้อเพลิงกับออกซิเจน ซึ่งเป็นผลให้เกิดความร้อนและแสงสว่างกับสภาพการเปลี่ยนแปลง
ก่อนที่ไฟจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัย 3 สิ่งต่อไปนี้ มารวมตัวกันในปริมาณที่เหมาะสม จึงจะเกิดขึ้นเป็นไฟได้ หรือเรียกว่า ทฤษฎีสามเหลี่ยมของไฟ คือ
1.เชื้อเพลิง (Fuel) ซึ่งจะอยู่ในสภาพของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส
2.ความร้อน (Heat) พอเพียงที่จะติดไฟได้
3.ออกซิเจน (Oxygen) ซึ่งะมีอยู่ในอากาศประมาน 21% โดยปริมาณ
เมื่อมีองค์ประกอบทั้ง 3 ครบแล้วไฟจะเกิดลุกไหม้ขึ้นและเกิดปฎิกิริยาลูกโซ่
ประเภทของเชื้อเพลิง
1.เพลิงไหม้ประเภท A
เกิดจากเชื้อเพลิงธรรมดาที่ติดไฟง่าย เช่น ไม้ ผ้า กระดาษ ขยะ พลาสติก ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่พบได้ในอาคารที่พักอาศัยทั่วไป ซึ่งเพลิงไหม้ประเภทนี้สามารถดับได้ด้วยน้ำเปล่า
2.เพลิงไหม้ประเภท B
เป็นเพลิงไหม้ที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลวติดไฟ มีส่วนประกอบพื้นฐานเป็นน้ำมันดิบ น้ำมันก๊าซ น้ำมันเบนซิน และก๊าซไวไฟ เช่น บูเทน (Butane) หรือ โพรเพน (Propane)
3.เพลิงไหม้ประเภท C
เป็นเพลิงไหม้ที่เกิดกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ยังมีกระแสไฟฟ้าอยู่ หรืออุปกรณ์ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านอยู่ตลอดเวลาที่ทำงาน เช่น มอเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า
4.เพลิงไหม้ประเภท D
เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นโลหะติดไฟได้ เช่น ไทเทเนียม ,แมกนีเซียม , อลูมิเนียม และ โพแทสเซียม เพลิงไหม้ประเภทนี้ไม่สามารถดับด้วยน้ำเปล่าได้
5.เพลิงไหม้ประเภท K
เกิดกับเครื่องครัว น้ำมันที่ใช้ในครัว ไขมันสัตว์ ไปจนถึงของเหลวที่ใช้ในการประกอบอาหาร
อบรมดับเพลิงขั้นต้นและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ ติดต่อ